เมื่อลูก ๆ โตขึ้นมีวุฒิภาวะที่จะคิดไตร่ตรองหรือตัดสินใจเหตุการณ์ในชีวิตได้แล้ว คนเป็นพ่อแม่ก็อยากจะจัดสรรทรัพย์สินที่หามาให้ลูกทุกคนได้มีทุนชีวิตนำไปต่อยอดในการดำเนินชีวิตต่อไป ทรัพย์สินที่คนเรามีส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านและที่ดินนั้น เวลาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือเปลี่ยนเจ้าของครอบครองจะต้องไปดำเนินการที่ที่ดินซึ่งมีขั้นตอนกระบวนการหลายขั้นตอน รวมถึงยังต้องมีค่าธรรมเนียมที่ต้องเตรียมจ่าย หลายคนก็อาจมีความกังวลว่าค่าธรรมเนียมจะเสียเหมือนกันกับการซื้อขายที่ดินทั่วไปหรือไม่ ซึ่งบางบ้านอาจไม่มีความพร้อมหากจำนวนในการโอนที่นั้นมีมาก วันนี้จึงมีข้อมูลที่น่ารู้ในการโอนที่ดินให้ลูกว่าเราจะต้องจ่ายอะไรกันบ้าง
คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ โดยกรมที่ดินทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรเมื่อมีการซื้อขายที่ดิน โดยค่าใช้จ่ายถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 แต่ถ้าไม่ใช่จะต้องคิดค่าใช้จ่ายอีกแบบหนึ่งโดยกรมที่ดินได้กำหนดไว้แล้ว ในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เราจะชำระอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่เงื่อนไข ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้วแต่อย่างใดสูงกว่า (ยกเว้นถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านที่จะโอนเกินกว่า 1 ปี) สำหรับค่าอากรแสตมป์ คิดจากราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้วแต่อย่างใดสูงกว่า ในอัตรา 0.5% และจะได้รับยกเว้นค่าอากรหากเราเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไปแล้ว
ค่าพยาน 20 บาท
จะเห็นได้ว่าการโอนที่ดินให้ลูก หรือมรดกตกทอดที่ได้รับตามสายเลือดนั้นมีค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการโอนซื้อขายตามปกติ เมื่อทราบข้อมูลแล้วพ่อแม่หลายท่านคงมีความเข้าใจมากขึ้นและสามารถจัด